พ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติตั้งแต่ วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ จนถึงวันที่ ๒๓ ตุลาคมพ.ศ. ๒๔๕๓ เป็นเวลา ๔๒ ปี ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองราชสมบัตินั้น ได้ทรงนำสยามรัฐนาวาฝ่า คลื่นลมไปสู่ฝั่งแห่งความเจริญวัฒนาสถาพรตามแบบอย่างอารยประเทศ ทั้งหลาย ความเจริญรุ่งเรืองในสมัยของพระองค์นั้น มีทั้งในด้าน วัตถุและ ด้านจิตใจของประชาชนพลเมือง ทรงดำรงพระองค์อยู่ใน ทศพิธราชธรรม ในรัชกาลของพระองค์เป็นยุคทองแห่งระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทรงดำรงอยู่ในความยุติธรรมอันเป็นหลักใหญ่ ในการปกครองประเทศ ทรงปกครองประชาราษฎร์เยี่ยง บิดาปกครองบุตร ประชาชนพลเมืองได้รับ ความร่มเย็นทุกถ้วนหน้า พระราชกรณียกิจของพระองค์มีมากมายเป็น อเนกประการ ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงนำ อารยธรรมต่างประเทศหลายอย่างมาใช้เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของ ประเทศชาติ แต่สิ่งใดที่มีอยู่แล้วและเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในสมัยสมเด็จ พระบรมชนกนาถ ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้มีการปฏิบัติต่อ โดยเฉพาะ เรื่องการพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษา ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้ออก หนังสือนี้ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเดือน ๔ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีจอ ฉอศก จ.ศ. ๑๒๓๖ ตรงกับวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ ดังมีพระราชปรารภในกระแส พระบรมราชโองการประกาศรัชกาลที่ ๕ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑ หน้า ๑ พ.ศ. ๒๔๑๗ ดังนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหา มงกุฎ บุรุศรัตนราชรวิวงษ์ วรุต์มพงษบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาษ บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถ บพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยามทรงพระราชดำริ ในการที่จะทำนุ บำรุงแผ่นดินให้เรียบร้อย สำเร็จประโยชน์ทั่วถึง แน่นอนให้ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน จึงทรงพระราชดำริว่าหนังสือ ราชกิจจานุเบกษาที่พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็น สมเด็จพระบรมชนกนารถ ได้ทรงเปนธรรมเนียมไว้แล้ว แต่ก่อนนั้น ทรงเห็นว่าเปนของดีมีคุณ เปนประโยชน์ในแผ่นดินสยาม ไม่ควรจะทิ้ง ละให้เสื่อมสูญพระราชประเพณี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งให้ พระยาศรีสุนทรโวหารพระสารสาศน์พลขันธ์ หลวงสารประเสริฐ เรียบเรียงเหตุในราชกิจต่างๆ ถวายพระเจ้าราชวรวงษเธอ กรมหมื่นอักษร สาสนโสภณ ลงพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษานี้ต่อไป โดยพระราชประสงค์ จะให้สืบธรรมเนียมดำรงค์พระราชประเพณีของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว แลเพื่อจะให้เปนประโยชน์แก่ ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย และราษฎร ทั้งปวงที่มีความประสงค์อยากจะ ทราบเหตุต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศสยามนี้ แลประเทศอื่นๆ หนึ่ง การตีพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษาครั้งนี้ จะไม่แจก เหมือนเมื่อครั้ง แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งนั้น เจ้าพนักงาน ตีพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วก็จำแนกแจกจ่ายให้ปันแก่ผู้ที่ต้อง ประสงค์คนละฉบับบ้าง สองฉบับบ้าง สามฉบับบ้าง บางที ผู้มีอำนาจ มาขอคนละเก้าฉบับบ้าง สิบฉบับบ้าง อย่างน้อยเพียงสี่ฉบับห้าฉบับ บ้าง เจ้าพนักงานก็ยอมให้ไป ผู้ที่ได้รับหนังสือราชกิจจานุเบกษา ไปนั้น บางที อ่านครั้งหนึ่งทิ้งเสียบ้าง บางทีเก็บไว้แต่ไม่ธุระ ทิ้งให้ฉีกขาดไปเสียบ้าง เพราะเห็นว่าหนังสือนั้นเปนของได้โดยง่าย แต่คราวนี้ซึ่งเจ้าพนักงานจะลง พิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษาต่อไป เปนครั้งที่สองในแผ่นดินปัตยุบันนี้ จะให้ออกเดือนละสี่ครั้ง ขึ้นค่ำหนึ่ง แรมค่ำหนึ่ง ขึ้นเก้าค่ำ แรมเก้าค่ำ ทุกเดือนไป รวมหนังสือปีหนึ่ง เปนสี่สิบแปดฉบับแต่จะขอเก็บเงินแต่ผู้ที่ได้ หนังสือราชกิจจานุเบกษา ปีหนึ่งเปนเงินคนละแปดบาท เงินซึ่งได้เก็บมานั้น จะเอามาใช้จ่าย ซึ่งกระดาษ และของอื่นๆ ซึ่งจะใช้สอยในการตีพิมพ์ ก็ที่เรียก ราคา ปีละแปดบาทนั้นก็ยังไม่ภอใช้สอยในการตีพิมพ์ แต่จะกันผู้ที่มาขอ ไม่ให้ราคา แลจะให้เปนประโยชน์ใหญ่ในภายน่านั้นด้วย ข้าราชการ ผู้ใหญ่ผู้น้อย แลราษฎรทั้งปวงที่มีปัญหาแสวงหาความชอบ แลความ ฉลาด แลความรอบรู้ ในราชการแผ่นดิน ควรจะออกเงินปีละแปดบาท รับซื้อหนังสือราชกิจจา นุเบกษานี้ไว้ อ่านตรวจดูการต่างๆ เหตุต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกรุงสยามบ้าง ในต่างประเทศบ้าง ก็จะได้ทราบความชัด ในเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งใกล้ทั้งไกล ได้สมประสงค์ ผู้ที่ได้รับหนังสือ ราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว จงถนอมรักษาไว้ เยบให้เปนเล่มสมุท เหมือน สมุทจีนสมุทฝรั่ง เวลาเมื่อประสงค์จะทราบ เหตุการฤาราชกิจสิ่งไรที่มี ยู่ในหนังสือราชกิจจานุเษกษา ก็จะได้ตรวจดู ให้ทราบชัดในราชกิจ แลเหตุการนั้นโดยง่าย ถ้าผู้ใดประสงค์จะซื้อหนังสือ ราชกิจจานุเบกษา แล้ว ขอเชิญมาที่โรงพิมพ์หลวงในพระบรมมหาราชวัง ลงชื่อแลบอก บ้านไว้เปนที่สังเกต ถ้าประสงค์ให้ไปส่งถึงบ้าน ต้องเสียเงิน อีกกึ่ง ตำลึง รวมเปนสองตำลึงกึ่ง ฉบับแรกๆ จะมีขนาดและข้อความดังต่อไปนี้ ๑. ขนาด ๘ หน้ายกพิเศษ ๒๔ x ๓๐ ซม.
ราชกิจจานุเบกษา กรุงเทพมหานคร
๔. แต่ละหน้าแบ่งเป็น ๒ คอลัมน์มีเส้นแบ่งคอลัมน์
อย่างไรก็ดี ในฉบับหรือเล่มหลังๆ การลงข้อความบอกกำหนดที่ ออกหนังสือก็ไม่จำเป็นต้องลงให้ครบ บางเล่มระบุเพียง เล่มที่ และ ร.ศ. ก็มี อนึ่ง เล่มแรกๆ ยังระบุศักราชเป็นจุลศักราชอยู่ นับแต่เล่มที่ ๖ พ.ศ. ๒๔๓๒ เป็นต้นมา ได้ใช้รัตนโกสินทรศกแทนขึ้น ๑. ทุกวันอาทิตย์สัปดาห์ละครั้งเดือนละสี่ครั้ง คือ ขึ้นค่ำหนึ่ง แรมค่ำหนึ่ง ขึ้นเก้าค่ำ และแรมเก้าค่ำทุกเดือนไป รวมปีหนึ่งมีสี่สิบแปดฉบับ ๒. ราชกิจจานุเบกษาที่ออกใหม่เป็นครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. ๒๔๑๗ นี้ ออกได้ ๕ ปี ก็มีอุปสรรค ต้องหยุดชะงักลงอีกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒ ครั้นต่อมา จึงทรง พระกรุณาโปรดให้ออกหนังสือดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ร.ศ. ๑๐๘ พ.ศ. ๒๔๓๒ เป็นเล่มที่ ๖ และนับตั้งแต่นั้นมาก็ออกติดต่อกัน เป็นลำดับจนกระทั่งทุกวันนี้
อนึ่ง มีข้อพึงสังเกตว่า ในการออกราชกิจจานุเบกษาในสมัย รัชกาลที่ ๕ ได้เริ่มนับ เล่ม (ปี) ที่ ๑ ใหม่ (โดยไม่นับต่อจากเล่ม ๑ ใน สมัยรัชกาลที่ ๔) ในช่วงที่หยุดชะงักไปในสมัยรัชกาลก็ไม่นับเล่มย้อนหลัง ในความเป็นจริงฉบับล่าสุดในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ นับเป็นเล่มที่ ๑๑๑ แต่ถ้านับ แต่ถือกำเนิดครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๑ ถึงบัดนี้ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ก็ได้ ๑๓๖ ปี
๑. สถานที่บอกรับและจำหน่ายคือโรงพิมพ์หลวง ในพระบรมมหาราชวัง ๒. อัตราค่าบอกรับมีดังนี้ ตลอดปี ๔๘ ฉบับ ราคา ๘ บาท
แบ่งได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ การบอกข้อราชการและ ข่าวต่าง ๆ ประเภทหนึ่ง ส่วนอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่ แจ้งความ ประกาศ พระราชบัญญัติ และกฎหมายต่างๆ ๑. การบอกข้อราชการและข่าวต่างๆ ประกอบด้วย ข่าวในพระราชสำนัก ได้แก่ ข่าวเสด็จพระราชดำเนิน ณ ที่ต่างๆ เช่น เสด็จพระราชดำเนินวังสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ เพื่อ ทำบุญวันประสูติ เสด็จก่อพระเจดีย์ทราย ณ วัดปากอ่าว เสด็จฯ เปิด รถไฟสายเมืองสมุทรปราการและเสด็จฯ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นต้น ข่าวอัครราชทูตนานาประเทศเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบ ถวายบังคมลา,ข่าวพระราชทานเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ พระราชาคณะ, ข่าวแต่งตั้งพระบรมวงศานุวงศ์, ข่าวพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญตราต่างๆ สัญญาบัตรขุนนางและ ตำแหน่งยศทหาร, ข่าวสิ้นพระชนม์ เป็นต้น
ข่าวการสงคราม ได้แก่ ข่าวบอกเมืองนครราชสีมาว่าด้วยกองทัพฮ่อ และกำหนดซึ่งจะได้ยกทัพขึ้นไปเมืองหนองคาย เป็นต้น
ข่าวเกี่ยวกับการเกษตรและภูมิอากาศ เช่น รายงานข้าวเปลือก ข้าวสารที่ซื้อขายกันในพื้นเมืองต่างๆ รายงานราคาถั่ว งา รายงาน จำนวนสัตว์พาหนะที่ป่วยเป็นโรคล้ม และรายงานบอกน้ำฝนต้นเข้า กรุง เป็นต้น
เหตุการณ์สำคัญๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ข่าวไฟไหม้สถานที่ต่างๆ
๒. แจ้งความ ประกาศ พระราชบัญญัติและกฎหมายต่างๆ ดังปรากฏใน สารบาญราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๗ แผนที่ ๓๖ วันที่ ๒ ธันวาคม ร.ศ. ๑๑๙ พ.ศ. ๒๔๔๓ ดังต่อไปนี้ ๓. คุณค่าของเนื้อหาในราชกิจจานุเบกษา ราชกิจจานุเบกษาเป็น หนังสือ พิมพ์ของหลวงหรือของทางราชการที่สำคัญมีคุณค่าเป็น อย่างยิ่ง สามารถ ใช้เป็นเอกสารและหลักฐานอ้างอิงค้นคว้าเรื่องราว ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยต่างๆ ได้ ข้อมูลเรื่องราวที่ปรากฏใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง มีคุณค่าในการศึกษา ประวัติศาสตร์ การเมืองและการปกครอง ในสมัยที่ราชกิจจานุเบกษา ฉบับนั้นๆ ออกมาได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างจากราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๒๖ หน้า ๕ ฉบับวันที่ ๒๐ มกราคม ร.ศ. ๑๒๘ พ.ศ. ๒๔๕๒ (ดูภาพ) ทำให้ได้ทราบลักษณะพระราชลัญจกรที่ใช้กับพระบรมราชโองการ ว่ามีรูปลักษณ์เป็นอย่างไร อักขรวิธีในสมัยนี้เป็นอย่างไร โดยเฉพาะ ทำให้ได้ทราบว่าพระราชบัญญัตินี้เป็นฉบับแรกที่ทรงพระกรุณาโปรด ให้มีการสำรวจ ทะเบียนสำมะโนครัวนั้นอย่างเป็นทางการอย่าง เป็นหลักเป็นฐานครั้งแรก ในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ ที่พิเศษสุด สำหรับประวัติศาสตร์กฎหมาย ไทยก็คือ มีระบุในมาตรา ๓ ของ พระราชบัญญัติฉบับนี้ว่า "...เมื่อกฎนั้นได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้ว ก็ให้ใช้ได้เหมือนเป็นส่วนของพระราช บัญญัตินี้" แสดงว่า ราชกิจจานุเบกษาเป็นเครื่องมือในการประกาศใช้ กฎหมายและ กฎหมายจะมีผลบังคับต่อเมื่อได้มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา แล้ว ซึ่งเป็นต้นแบบของการประกาศใช้กฎหมายสืบมาจนถึงปัจจุบัน
วิวัฒนาการราชกิจจานุเบกษา
ในสมัย
รัชกาลที่ ๕โดยสังเขป
ประกาศ
ออกหนังสือพิมพ์
ราชกิจจานุเบกษาราชกิจจานุเบกษา
ลักษณะรูปเล่ม
๒. มีตราอาร์มเป็นสัญลักษณ์ปรากฏอยู่หน้าปกซึ่งเป็นหน้าแรกของ เล่มด้วย
๓. หน้าแรกของเล่มภายใต้ตราอาร์มปรากฏข้อความดังนี้
เล่มที่.......วัน.....เดือน................ขึ้น........ค่ำ ปี ........แผนที่......
............................................แรม
๕. นำเบอร์ หมายถึง หน้า, แผ่นที่ หมายถึง ตอนที่
๖. การจัดรูปเล่มสมัยต้นรัชกาล ไม่ได้แยกหน้ากระดาษลำหรับพระราช
กฤษฎีกาไว้ต่างหากเหมือนอย่างทุกวันนี้ เพราะเวลารวมเป็นเล่มต้อง เย็บรวมกันไปทั้งหมดไม่ได้แยกเป็นแผนกสามัญและกฤษฎีกา เพิ่งมา แยกลำดับหน้ากระดาษสำหรับแผนกกฤษฎีกาเมื่อปลายรัชกาล เริ่ม ตั้งแต่เล่มที่ ๒๖ ร.ศ. ๑๒๘ พ.ศ. ๒๔๕๒ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
ราชกิจจานุเบกษา
กำหนดออก
ราชกิจจานุเบกษา
การบอกรับ
ครึ่งปี ๒๔ ฉบับ ราคา ๕ บาท
๓ เดือน ๑๒ ฉบับ ราคา ๓ บาท
ถ้าต้องส่งถึงบ้าน ปีหนึ่งคิดค่าจ้างส่ง กึ่งตำลึง ครึ่งปีหกสลึง สามเดือนบาทหนึ่ง
ราชกิจจานุเบกษา
เรื่องที่นำลงพิมพ์