วิวัฒนาการราชกิจจานุเบกษา

สมัยรัชกาลที่ ๖ ถึงสมัย รัชกาลที่ ๗
(ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง)

โดยสังเขป

ระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เสด็จขึ้น ครองราชสมบัติในปีพุทธศักราช ๒๔๕๓ หลังจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จสวรรคต หนังสือราชกิจจานุเบกษาซึ่งตีพิมพ์ตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ออกหนังสือราชกิจจานุเบกษาอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ จึงทรง พระกรุณาโปรดให้ออกหนังสือราชกิจจานุเบกษาสืบต่อมาดังเช่นใน รัชกาลก่อนๆ

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมัยที่มี ความเจริญรุ่งเรืองด้านการละครและวรรณกรรม โดยเฉพาะการออกวารสาร และหนังสือพิมพ์ ราชกิจจานุเบกษาเป็นสิ่งพิมพ์ประเภทวารสาร ออกสัปดาห์ ละครั้งนอกจากในกรณีมีเรื่องราชการสำคัญรีบด่วนจะออกฉบับพิเศษในช่วง เวลานั้นๆ โดยออกติดต่อกันเป็นลำดับ ถึงปีพุทธศักราช ๒๔๖๘ ซึ่งตรงกับ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ราชกิจจานุเบกษา ก็ยังพิมพ์ออกเผยแพร่โดยสม่ำเสมอ

ราชกิจจานุเบกษา

ลักษณะรูปเล่ม

ราชกิจจานุเบกษา ในสมัยรัชกาลที่ ๖ - รัชกาลที่ ๗ ก่อนเปลี่ยน แปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ มีขนาดรูปเล่ม ๑๖ หน้ายก หรือขนาด ๑๔ ๑/๒ x ๒๑ ๑/๒ ซม.

ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๓ (ร.ศ. ๑๒๙) ซึ่งออกเป็นเล่ม ๒๗ มีตรา "อาร์ม" ซึ่งเป็นตราแผ่นดินเป็นสัญลักษณ์ ครั้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๒๔๕๕ (ร.ศ. ๑๓๐ - ๑๓๑) เล่ม ๒๘, ๒๙ โปรดให้ใช้ตรา "ครุฑ" เป็นสัญลักษณ์ ซึ่ง ลักษณะครุฑในบางเล่มแตกต่างกัน ส่วนศักราชนั้น ยังคงใช้รัตนโกสินทรศก เป็นเครื่องกำหนดปี เช่น เล่ม ๒๗ รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ และแยกเนื้อเรื่อง เป็นแผนกราชกิจจาและแผนกกฤษฎีกา อย่างไรก็ดี ราชกิจจานุเบกษาพิเศษ ประจำวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๙ การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและ เฉลิมพระราชมณเฑียร เริ่มใช้ทั้งจุลศักราช พุทธศักราช และรัตนโกสินทรศก กำกับทั้ง ๓ ศักราชแล้ว

ปี พ.ศ. ๒๔๕๖ - ๒๔๕๗ เล่ม ๓๐ ถึงเล่ม ๔๙ คงใช้ตรา "ครุฑ" เป็นสัญลักษณ์ และพุทธศักราช ๒๔๖๗ เป็นต้นมา ราชกิจจานุเบกษา จะมี สารบาญอยู่ด้านหน้า ทำนองเดียวกับวารสารทั่วๆ ไป เมื่อครบปี จะมี สารบาญรวมทั้ง แผนกกฤษฎีกา และแผนกราชกิจจานุเบกษา หรือบางที เรียกว่า แผนกสามัญ โดยแบ่งออกเป็นครึ่งปีแรก เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน เป็นภาค ๑ ครึ่งปีหลัง ตั้งแต่เดือนตุลาคม เป็นภาค ๒ แต่ละแผนกจะมี สารบาญเฉพาะของแต่ละปี เช่น สารบาญ แผนกกฤษฎีกา ภาค ๑ หน้า ๑ ถึงหน้า ๓๑๐ ภาค ๒ หน้า ๓๑๑ - ๕๒๓ เป็นต้น

ราชกิจจานุเบกษามีการกำหนดเลขหน้าเฉพาะของแต่ละแผนก ไม่ใช้ร่วมกันทั้งแผนกกฤษฎีกาและแผนกราชกิจจา โดยแยกเลขหน้า เริ่มจากหน้า ๑ ทั้งสองแผนก การนำมารวมเล่ม จะแยกเป็นสองแผนก เรียงตามเลขหน้า และวันที่กำหนดออก ในช่วง ปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๕ จะออกทุกวันอาทิตย์ นอกจากมีราชการพิเศษจะมีฉบับ พิเศษออกเพิ่มขึ้นโดยจะมีคำว่า ฉะบับพิเศษ อยู่ที่แผ่นแรกของราชกิจจา นุเบกษา การนำราชกิจจานุเบกษามารวมเล่มในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๕๓ - ๒๔๗๕ จะเริ่มจากเดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนเริ่มต้นปีใหม่ของไทยในยุคนั้น

ราชกิจจานุเบกษาเป็นเอกสารที่ออกโดยราชการ ในช่วงแรกๆ จึงแจกจ่ายให้กับเสนาบดี ข้าราชการ หรือประชาราษฎรบางส่วนเท่านั้น จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงประกาศให้เก็บเงินจากผู้ที่ขอรับหนังสือ ราชกิจจานุเบกษา เป็นรายปี ปี ละ ๘ บาท ถ้าส่งให้ถึงบ้านต้องเพิ่มอีก ๒ บาท รวมเป็น ๑๐ บาท ในช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ ๖ นั้น การชำระเงินค่า บอกรับหนังสือราชกิจจานุเบกษา ให้จ่ายล่วงหน้าเป็นปี ทั้งนี้ตามใบแจ้ง ความที่แนบมาด้วยกับราชกิจจานุเบกษาของพระยาประกาศอักษรกิจ ผู้จัดการหนังสือราชกิจจานุเบกษาในยุคนั้น ตามใบแทรกในหน้าสุดท้ายของ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๐ หน้า ๒๖๐ ลงวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๔๖๖

ราชกิจจานุเบกษา

เรื่องที่นำลงพิมพ์

ราชกิจจานุเบกษา เป็นสิ่งพิมพ์ของราชการ เรื่องที่นำลงตีพิมพ์ ส่วนใหญ่จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับทางราชการ กล่าวคือ

ข่าวในพระราชสำนัก จะให้รายละเอียดพระราชกรณียกิจพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในงานพระราชพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธีตรุษ สงกรานต์ พระราชพิธีศรีสัจจปานการ การเสด็จออกประทับเพื่อ พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม และเหรียญอื่นๆ การเสด็จออกประทับเพื่อโปรดเกล้าฯ ให้พระบรม วงศานุวงศ์อัครราชทูต ข้าราชการ เป็นต้น เข้าเฝ้าทูลละอองธุลี พระบาท และการพระราชพิธีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระราชสำนัก เป็นต้น

ประกาศพระบรมราชโองการ จะเป็นพระบรมราชโองการในเรื่อง ต่างๆ เช่น ประกาศพระบรมราชโองการให้เปลี่ยนนามหน่วยบางหน่วย และนามตำแหน่งบางตำแหน่งในกรมทหารเรือ ประกาศพระบรม ราชโองการเกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกา, พระราชบัญญัติ ประกาศ พระราชทานต่างๆ ประกาศเรื่องต่างๆ เป็นต้น

ประกาศกระทรวง, กรมต่างๆ เช่น ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกฎเสนาบดีฯ ว่าด้วยการกำกับตรวจตราคนต่างด้าวเข้าประเทศ สยามฯ ประกาศกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ประกาศกระทรวง เกษตราธิการ ประกาศกระทรวงธรรมการ ประกาศกระทรวงทหารเรือ ประกาศกรมรถไฟหลวงแห่งกรุงสยาม เป็นต้น

ข่าวต่างๆ จะลงข่าวทั่วๆ ไป รวมทั้งข่าวเสด็จพระราชดำเนิน ประทับแรม การแปรพระราชสถาน ข่าวเพลิงไหม้ ข่าวสิ้นพระชนม์ ข่าวอนิจกรรม ข่าวมรณภาพ ข่าวตาย ข่าวพระราชทานเพลิงศพ ข่าวต่าง ๆ จะให้รายละเอียดอันจะเป็นข้อมูลในการค้นคว้าโดยเฉพาะ ข่าวตาย หรือข่าวสิ้นพระชนม์ จะให้รายละเอียดประวัติของบุคคลนั้นๆ ด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์ในการค้นคว้าชีวประวัติบุคคล

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงต่างๆ เช่น แจ้งความกระทรวงนครบาล เรื่องให้เงินบำรุงวชิรพยาบาล รายงานกระทรวงธรรมการ แผนก กรมธรรมการ เป็นรายงานผู้มีศรัทธาบริจาคเงินช่วยในการปฏิสังขรณ์ วัดต่างๆ แจ้งความราชบัณฑิตยสภา เรื่องมีผู้ให้หนังสือบำรุงหอพระ สมุดวชิราวุธ บัญชีรายงานน้ำฝนประจำเดือนของแต่ละเดือน เป็นต้น

ราชกิจจานุเบกษา

ประโยชน์และคุณค่า

ราชกิจจานุเบกษา เป็นหนังสือที่มีคุณค่ามหาศาล เป็นแหล่ง ข้อมูลที่สำคัญยิ่งในด้านประวัติศาสตร์ของไทย เป็นหลักฐานในการค้นคว้า ในด้านต่างๆ เช่น

ด้านประวัติศาสตร์ ราชกิจจานุเบกษาได้บันทึกเหตุการณ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะข่าวในพระราชสำนัก การเปลี่ยนแปลง โยกย้าย การแต่งตั้งในข้อราชการของแต่ละกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ล้วนแต่เป็นประวัติศาสตร์ที่ควรศึกษาค้นคว้า

ด้านการเมืองการปกครอง ราชกิจจานุเบกษาเป็นหลักฐานอัน สำคัญยิ่งในด้านการเมืองการปกครอง ในช่วงรัชกาลที่ ๖ และ รัชกาลที่ ๗ ก่อนเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง

ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี โดยศึกษาได้จากข่าวต่างๆ โดย เฉพาะข่าวในพระราชสำนัก หรือการบันทึกพระราชกรณียกิจ ให้ทราบถึงขนบธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับพระราชสำนัก ซึ่งเป็น หลักฐานยืนยันว่าประชาชนชาวไทยนั้น มีความจงรักภักดีในสถาบัน พระมหากษัตริย์เป็นอย่างยิ่ง

ด้านภาษา ทำให้ทราบถึงการวิวัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงใน การใช้ภาษาและตัวอักษร ในแต่ละช่วงปีนั้น ๆ

นอกจากนี้ ราชกิจจานุเบกษายังใช้เป็นหลักฐานในกระบวนการ ตุลาการ และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงกับหน่วยราชการและศึกษาวิวัฒนาการ พิมพ์หนังสือของประเทศ ทั้งระบบการพิมพ์ตัวอักษร การจัดรูปเล่ม การจัดคอลัมน์ ในแต่ละสมัยแต่ละรัชกาลได้เป็นอย่างดี เพราะมีการ จัดพิมพ์อย่างต่อเนื่องสืบมาจนถึงปัจจุบัน

ชื่อเรื่องและลิงค์ถูกคัดลอกแล้ว