พ ระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงเป็นพระมหา กษัตริย์พระองค์แรกในระบอบประชาธิปไตย หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงระบบ การปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ จนถึงวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗ ทรงสละราชสมบัติ และรัฐบาลไทย โดยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร ได้อัญเชิญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์สืบราช สันตติวงศ์ ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และ โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงพระเยาว์ สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติ ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประกอบด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่น อนุวัตน์จาตุรนต์ เป็นประธาน พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพย์อาภา และเจ้าพระยายมราช ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๑ หน้า ๑๓๓๒ วันที่ ๗ มีนาคม ๒๔๗๗ หนังสือราชกิจจานุเบกษาในสมัยนี้ได้ออกต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ สืบเนื่องกันมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเสนอข่าวสารทางราชการเป็น ส่วนใหญ่ เนื้อหาที่นำเสนอแยกได้ ๒ ประเภท คือ เรื่องทั่วๆ ไป เช่น ข่าว ในพระราชสำนัก พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎรโดยสังเขป ประกาศต่างๆ ของจังหวัด ของกระทรวง ของสภาผู้แทนราษฎรและกรมต่างๆ และเรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา ประกาศ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวงต่างๆ ประกาศกระทรวงต่างๆ เป็นต้น ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครอง แผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๙ หน้า ๑๖๖ ลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕) มีข้อสังเกต ๒ ประการ คือ ประการแรก ไม่ได้ใช้ตราพระบรมราชโองการ แต่ใช้ตราครุฑแทน และแทน ที่ชื่อรัฐธรรมนูญ เช่น ฉบับต่อๆ มา ใช้ว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการ ปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว..." ประการที่สอง ไม่มีมาตราใดระบุว่า การประกาศใช้กฎหมายให้มีผลบังคับนับจากวัน หรือถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครอง แผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๙ หน้า ๑๖๖ ลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕) มีข้อสังเกต ๒ ประการ คือ ประการแรก ไม่ได้ใช้ตราพระบรมราชโองการ แต่ใช้ตราครุฑแทน และแทน ที่ชื่อรัฐธรรมนูญ เช่น ฉบับต่อๆ มา ใช้ว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการ ปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว..." ประการที่สอง ไม่มีมาตราใดระบุว่า การประกาศใช้กฎหมายให้มีผลบังคับนับจากวัน หรือถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับต่อมายังคงใช้ตราครุฑกำกับ แต่เริ่มใช้ชื่อ รัฐธรรมนูญว่า "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕" และมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาไว้ในมาตรา ๓๘ ว่า "เมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้ร่างพระราชบัญญัติขึ้นสำเร็จแล้ว ให้ นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลง พระปรมาภิไธย และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ท่านให้ใช้ เป็นกฎหมายไว้" ต่อมาได้มี "รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยนามประกาศ พุทธศักราช ๒๔๘๒" ตราไว้เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๔๘๒ มีกำหนดไว้ใน "มาตรา ๒ ให้ใช้รัฐธรรมนูญนี้ ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเป็นต้นไป" อนึ่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙ ได้ระบุบทบาทของราชกิจจานุเบกษาไว้อย่างเด่นชัดว่า "มาตรา ๒๐ ร่างพระราชบัญญัติซึ่งรัฐสภาได้ทำขึ้นเสร็จแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลง พระปรมาภิไธย และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับ เป็นกฎหมายได้" นับแต่บัดนั้นมา ร่างพระราชบัญญัติที่นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว จะมีผลบังคับก็ต่อเมื่อได้มีการประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาแล้ว ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติอยู่ถึงปัจจุบันนี้ อย่างไรก็ดี ก็มีข้อสังเกตว่า ในระยะต้นๆ ของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ นั้น กฎหมายจะมีผลบังคับในวันที่ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา แต่มาใน ระยะหลังๆ กำหนดวันมีผลบังคับตั้งแต่ "วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา นุเบกษา" เป็นต้นไป การนำเสนอหนังสือราชกิจจานุเบกษา ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๔๘๔ จะมี ๒ แผนก คือ แผนกกฤษฎีกา และแผนกราชกิจจา หรือบางครั้งเรียกว่า แผนกสามัญ เพื่อสะดวกในการรวมเล่ม แต่ละแผนกจะมี ๒ ภาค ครึ่งปีแรก เป็นภาค ๑ ครึ่งปีหลังเป็นภาค ๒ การกำหนดเลขหน้า เรียงตามลำดับทั้ง ภาค ๑ และภาค ๒ ต่อเนื่องกัน จะแยกเฉพาะหน้าเฉพาะของแต่ละแผนก หรือกรณีมีราชการพิเศษจะกำหนดเลขหน้าใหม่ แต่จะมีคำว่า ฉะบับพิเศษ กำกับด้วย หนังสือราชกิจจานุเบกษาช่วงนี้จะพิมพ์ขนาด ๑๖ หน้ายก หรือขนาด ๑๔ x ๒๑ ซม. ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ - ๒๔๘๙ ตั้งแต่เล่ม ๕๙ เป็นต้นไป การกำหนด หน้าของหนังสือราชกิจจานุเบกษา ได้กำหนดตอนที่กำกับด้วยแต่ละตอน จำนวนหน้าไม่แน่นอน แล้วแต่เรื่องที่จะต้องประกาศลง การกำหนดตอนที่ กำกับลงไปด้วยทำให้สะดวกในการค้นคว้าข้อมูลมากขึ้น หนังสือราชกิจจานุเบกษา ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ อยู่ในความรับผิดชอบ ของแผนกราชกิจจานุเบกษา กองประกาศิต กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ตามพระราชกฤษฎีกาการจัดวางระเบียบราชการ กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๘๕ ตามที่ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๓๖ วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๔๘๕ หนังสือราชกิจจานุเบกษาในสมัยหลังเปลี่ยนการปกครอง ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๔๘๙ มีกำหนดออก และระเบียบการกำหนดอัตราค่าบอกรับ ดังนี้ ออกเป็นรายสัปดาห์ ทุกวันอังคาร อัตราค่ารับหนึ่งปี ๑๐ บาท ครึ่งปี ๑๕ บาท สามเดือน ๗.๕๐ ขายปลีกตอนละ ๑ บาท เกิน ๒๐๐ หน้า ตอนละ ๑.๕๐ บาท ตอนใดถ้าไม่ได้รับ ให้แจ้งภายใน ๒ เดือน หนังสือราชกิจจานุเบกษาในสมัยนี้ เป็นสิ่งพิมพ์ของทางราชการ ที่มีอายุการพิมพ์จำหน่ายยาวนาน และต่อเนื่อง เรื่องที่พิมพ์ส่วนใหญ่จะเป็น เรื่องที่เกี่ยวข้องกับทางราชการประกาศต่างๆ ให้ประชาชนรู้ ยกตัวอย่าง ที่สำคัญในด้านต่างๆ ดังนี้ ประเทศไทยมีวิวัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงด้านภาษาและ วรรณกรรมตลอดมา ดังเช่น "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี" เรื่องการปรับปรุง ตัวอักสรไทย เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๔๘๕ (ลงในราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ ๓๕ เล่มที่ ๔๙ วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๔๘๕ หน้า ๑๑๓๗ - ๑๑๔๑) ที่ให้งดใช้สระ ใ, ฤ, ฤา, ฦ, ฦา รวม ๕ ตัว ส่วนพยัญชนะที่ตัดออกมี ฃ, ฅ, ฆ, ฌ, ฎ, ฏ, ฐ, ฑ, ฒ, ณ, ศ, ษ, ฬ รวม ๑๓ ตัวส่วน ญ (หญิง) ให้คงไว้ แต่ให้ตัดเชิงออกเสีย คงเป็นรูป (ไม่มีเชิง) สำหรับพยัญชนะที่คงไว้มี ๓๑ ตัว ดังนี้ คือ ก
ข
ค
ง
จ
ฉ
ช
ซ
ด
ต
ถ
ท
ธ
น
บ
ป
ผ
ฝ
พ
ฟ
ภ
ม
ย
ร
ล
ว
ส
ห
อ
ฮ
หนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นจดหมายเหตุที่บันทึกเหตุการณ์ ต่างๆ เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎบัญญัติ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ข่าวในพระราชสำนัก การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ข่าวต่างๆ โดยเฉพาะช่วงปี พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๔๘๙ หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง จัดพิมพ์พระราชกฤษฎีกา เกี่ยวกับรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎรโดยย่อ การตั้งคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นต้น ดังเช่น พระราชกฤษฎีกาให้ปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร และตั้งคณะรัฐมนตรี ชุดใหม่ ลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๐ หน้า ๑ - ๔ วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๖ ข้อ ๒ - ๓ ว่า ๒. ให้ยุบคณะรัฐมนตรีปัจจุบันนี้เสีย และให้มีคณะรัฐมนตรีขึ้นใหม่ ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหนึ่งนาย กับรัฐมนตรีอื่นๆ อีกไม่เกินยี่สิบนาย และให้นายกรัฐมนตรี คณะซึ่งยุบนี้เป็นนายกของคณะรัฐมนตรีใหม่ กับให้ รัฐมนตรีซึ่งว่าการกระทรวงต่างๆ อยู่ในเวลานี้เป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรีใหม่ โดยตำแหน่ง ส่วนรัฐมนตรีอื่น ๆ จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นโดย คำแนะนำของนายกรัฐมนตรีอีกต่อไป ๓. ตราบใดที่ยังไม่ได้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร ยังไม่ได้เรียก ประชุมสภาผู้แทนราษฎรใหม่นั้น และยังไม่ได้ตั้งคณะรัฐมนตรีตามความใน รัฐธรรมนูญแล้วให้คณะรัฐมนตรีใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาฉะบับนี้ เป็นผู้ใช้ อำนาจต่างๆ ซึ่งรัฐธรรมนูญได้ให้ไว้แก่คณะรัฐมนตรี ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ต่อพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มี มากที่สุดเป็นประวัติการ คือ ๑๔ คน ได้แก่ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งตรงกับรัชสมัย ของรัชกาลที่ ๗ และรัชกาลที่ ๘ เหตุการณ์ทางการเมืองมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านระบบและบุคคล เหตุการณ์เหล่านี้จะปรากฏในราชกิจจานุเบกษา เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย เช่น การประกาศตั้งคณะผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๑ หน้า ๑๓๓๒ วันที่ ๗ มีนาคม ๒๔๗๗ หรือเกี่ยวกับการประกาศเฉลิมพระนามสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๑ หน้า ๑๔๐๗ วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๔๗๗ ดังนี้ หนังสือราชกิจจานุเบกษา หลังปี พ.ศ. ๒๔๘๕ จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรมหลายด้าน ด้านภาษาอักษรไทย การใช้ เลขไทย ดังได้กล่าวมาแล้วในด้านภาษาศาสตร์ ส่วนในด้านขนบธรรมเนียม ประเพณี เช่น ประกาศพระบรมราชโองการ เรื่องการยกเลิกบรรดาศักดิ์ ลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๓๓ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๘๕ หน้า ๑๐๘๙ - ๑๐๙๑ ดังต่อไปนี้ ในสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นสมัยที่พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้ธรรมนูญการปกครอง แผ่นดินสยาม สิทธิเสรีภาพของประชาชนขยายวงกว้างขึ้นเพราะการประกาศ ต่างๆ ในราชกิจจานุเบกษาเอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนในด้านความรู้ ต่างๆ ด้านกฎหมาย ความเป็นอยู่ที่ต้องเกี่ยวข้องกับทางราชการ ทำให้ ประชาชนมีความรู้มากขึ้น เช่น ข่าวในพระราชสำนัก การประกาศพระราช กฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินหวงห้าม ที่ดินเวนคืน ตามอำเภอ ตำบลต่างๆ พระราชบัญญัติการรับราชการทหาร ประกาศด้านการศึกษาต่างๆ การตั้ง โรงเรียน การออกโฉนดที่ดิน การขอแปลงสัญชาติ ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องที่เป็น ประโยชน์และประชาชนควรรู้ทั้งสิ้น จึงนับได้ว่า หนังสือราชกิจจานุเบกษา ในสมัยนี้ปรับปรุงเพิ่มเนื้อหาต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการ และ ประชาชน เป็นประวัติศาสตร์ของประเทศและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ค้นคว้าของประชาชนเป็นอเนกนานัปการ
วิวัฒนาการราชกิจจานุเบกษา
สมัยรัชกาลที่ ๗ ถึงสมัย รัชกาลที่ ๘
(ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง)โดยสังเขป
ราชกิจจานุเบกษา
ลักษณะรูปเล่ม
ราชกิจจานุเบกษา
กำหนดออก
ราชกิจจานุเบกษา
ประโยชน์และคุณค่า
ด้านอักษรศาสตร์ และภาษาศาสตร์
ด้านการเมืองและการปกครอง
เจ้าพระยาวงษา
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์
พระยาเทพวิทุร
พ.ร.ท. พระยาราชวังสัน
พระยาจ่าแสนยบดี
พระยาศรีวิสารวาจา
พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
พ.อ. พระยาทรงสุรเดช
พ.อ. พระยาฤทธิ์อัคเนย์
พ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ์
พ.ต.หลวงพิบูลสงคราม
น.ต. หลวงสินธุสงครามชัย
นายประยูร ภมรมนตรี
ด้านประวัติศาสตร์
ด้านวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี
ราชกิจจานุเบกษา
ความสรุป