วิวัฒนาการราชกิจจานุเบกษา

สมัยรัชกาลที่ ๙

โดยสังเขป

วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๘ เสด็จสวรรคต และเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จขึ้นครองราชย์ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยัง ทรงพระเยาว์ จึงมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราว

ต่อมาคณะผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ประธานพฤฒสภา ประธานสภาผู้แทนและคณะรัฐมนตรี ได้พิจารณาประกาศเฉลิมพระนามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๔๘๙ ว่า "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช" ดังในราชกิจจานุเบกษา ฉะบับพิเศษ ตอนที่ ๔๑ เล่ม ๖๓ วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๔๘๙ หน้า ๑ - ๒ ดังนี้

ลักษณะรูปเล่มและกำหนดออก

ราชกิจจานุเบกษาเป็นวารสารรายสัปดาห์ กำหนดออกทุกวันอังคาร ขึ้นลำดับเล่มใหม่ทุกปี และเริ่มตอนที่ ๑ ในช่วงต้นเดือนมกราคม ราชกิจจา นุเบกษาในช่วงนี้มีแบบการจัดพิมพ์ที่เป็นมาตรฐาน แบ่งการพิมพ์ออกเป็น ๒ แผนก คือ แผนกราชกิจจา และแผนกกฤษฎีกา การจัดพิมพ์ของทั้งสอง แผนกมีขนาดรูปเล่มเหมือนกัน คือกว้าง ๑๔.๕ ซม. ยาว ๒๑ ซม. ปกสีขาว มีตราครุฑสีดำอยู่บนปก

แผนกราชกิจจาจะรวบรวมเรื่องที่ทางราชการต้องการประกาศให้ ประชาชนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ทราบ ประกอบด้วย ประกาศ ข้อบังคับ คำสั่ง ระเบียบ รายงาน แจ้งความ ข่าวในพระราชสำนัก หมายกำหนดการ แถลงการณ์ บันทึกการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ บันทึกการประชุมสภา ผู้แทนวุฒิสภาและรัฐสภา โดยแบ่งเป็น ๒ ภาค แต่ละภาคมีสารบาญค้นเรื่อง แยกกัน มีเลขหน้าเรียงลำดับต่อกันยกเว้นตอนพิเศษ

ตอนพิเศษจะออกเมื่อมีเรื่องสำคัญ การออกไม่เป็นไปตามกำหนด เวลา มีสารบาญทุกตอน เลขหน้าจะเริ่มจากหน้า ๑ ทุกครั้ง แต่ตอนจะเรียง ลำดับต่อจากฉบับสามัญ เช่น

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๓ ปี พ.ศ. ๒๔๘๙
ตอนที่ ๑ เป็นฉบับสามัญ ออกวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๙
ตอนที่ ๒ เป็นฉบับพิเศษ ออกวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๙
ตอนที่ ๓ เป็นฉบับสามัญ ออกวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๙

จะพบว่า "ตอน" ของราชกิจจานุเบกษาฉบับสามัญและฉบับพิเศษ เรียงลำดับต่อกัน การจัดพิมพ์ราชกิจจานุเบกษาแต่ละตอน มีจำนวนหน้าไม่แน่นอน ดังปรากฏในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๖๓ พ.ศ. ๒๔๘๙

ตอนที่ ๑ หน้า ๑ - ๕๑ จำนวน ๕๑ หน้า
ตอนที่ ๓ หน้า ๕๔ - ๗๗ จำนวน ๒๔ หน้า
ตอนที่ ๔ หน้า ๗๘ - ๑๒๐ จำนวน ๔๓ หน้า
ตอนที่ ๖ หน้า ๑๒๑ - ๑๕๘ จำนวน ๓๘ หน้า
ตอนที่ ๗ หน้า ๑๕๙ - ๑๖๒ จำนวน ๔ หน้า
ตอนที่ ๙ หน้า ๑๖๓ - ๑๖๕ จำนวน ๓ หน้า
ตอนที่ ๑๐ หน้า ๑๖๖ - ๑๗๐ จำนวน ๕ หน้า
ตอนที่ ๑๑ หน้า ๑๗๑ - ๑๘๖ จำนวน ๑๖ หน้า
ตอนที่ ๑๒ หน้า ๑๘๗ - ๒๑๙ จำนวน ๓๓ หน้า

หรือ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๐ พ.ศ. ๒๕๑๖
ตอนที่ ๑๓๖ หน้า ๓๔๐๒ - ๓๔๗๔ จำนวน ๗๓ หน้า
ตอนที่ ๑๓๙ หน้า ๓๔๗๕ - ๓๕๖๓ จำนวน ๘๙ หน้า
ตอนที่ ๑๔๐ หน้า ๓๕๖๔ - ๓๗๑๗ จำนวน ๑๕๔ หน้า
ตอนที่ ๑๔๒ หน้า ๓๗๑๘ - ๓๗๙๒ จำนวน ๗๕ หน้า
จากตัวอย่างตอนที่ ๑ - ๑๒ และตอนที่ ๑๓๖ - ๑๔๒ ตอนที่ขาดไปเป็น ราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ ซึ่งแต่ละตอนมีจำนวนหน้าไม่แน่นอนเช่น เดียวกัน กล่าวคือ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๐ พ.ศ. ๒๕๑๖
ตอนที่ ๑๓๗ หน้า ฉบับพิเศษ หน้า ๑ - ๔๘๐ จำนวน ๔๘๐ หน้า
ตอนที่ ๑๓๘ หน้า ฉบับพิเศษ หน้า ๑ - ๔๒ จำนวน ๔๒ หน้า
ตอนที่ ๑๔๑ หน้า ฉบับพิเศษ หน้า ๑ - ๒๑ จำนวน ๒๑ หน้า

ตามที่กล่าวมา จะเห็นว่าราชกิจจานุเบกษาแต่ละตอนทั้งฉบับสามัญและ ฉบับพิเศษ มีจำนวนหน้าไม่เท่ากัน มากบ้างน้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ หรือเรื่องราวที่ปรากฏในช่วงนั้นๆ

แผนกกฤษฎีกา รวมเรื่องของทางราชการที่มีผลใช้บังคับเป็น กฎหมายหรือเสมือนกฎหมายได้ ประกอบด้วยรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎ ก.พ. กฎสำนักนายกรัฐมนตรี กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ข้อบังคับ (สุขาภิบาล) ข้อบัญญัติ (จังหวัด ตำบล) ประกาศพระบรมราชโองการ เทศบัญญัติ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ข้อบังคับ (สุขาภิบาล) ข้อบัญญัติ (จังหวัด ตำบล) ประกาศ พระบรมราชโองการ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศ กระทรวงมหาดไทย และข้อกำหนด (สำหรับ ๓ ประเภทหลังจะมีผลบังคับ เสมือนกฎหมายได้ในกรณีที่พระราชบัญญัติให้อำนาจไว้) โดยแบ่งพิมพ์เป็น ๒ ภาค และแต่ละภาคมีสารบาญแยกกัน เลขหน้าเรียงลำดับต่อกันยกเว้น ฉบับพิเศษจะเริ่มหน้า ๑ ใหม่ทุกครั้ง เช่นเดียวกับแผนกราชกิจจานุเบกษา

ในกรณีที่ข้อความในราชกิจจานุเบกษาเกิดความผิดพลาดไปจาก ความเป็นจริง จะมีใบแก้คำผิดไว้ท้ายตอนต่อไป เรียกว่า "ใบบอกแก้" เช่น ใบบอกแก้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๖๕ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๔๙๑ โดยจะบอกว่าเป็นข้อความของหน่วยงานใด เรื่องอะไร ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่เท่าไร ตอนใด วันทีเท่าไร แก้ข้อความใด หน้าไหน บรรทัดที่เท่าไร และในช่วงหลังใบแก้คำผิด จะใช้ว่า "แก้คำผิด" ดังข้อความ ที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๐ ตอนที่ ๑๔ วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๖ หน้า ๓๔๓ ดังนี้เป็นต้น

ราชกิจจานุเบกษา

การบอกรับราชกิจจานุเบกษา

จากหลักฐานที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๑๒ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๙ หน้า ๒๒๐ การบอกรับราชกิจจานุเบกษายัง ไม่มีกฎเกณฑ์มากนักเรียกว่า "ระเบียบการ" บอกกำหนดออกเป็นรายสัปดาห์ ทุกวันอังคาร อัตราค่าบอกรับหนึ่งปี ๓๐ บาท ครึ่งปี ๑๕ บาท สามเดือน ๗.๕๐ บาท ขายปลีก ตอนละ ๑ บาท เกิน ๒๐๐ หน้าตอนละ ๑.๕๐ บาท ตอนใดถ้าไม่ได้รับให้แจ้งภายใน ๒ เดือน ต่อท้ายด้วยแผนกราชกิจจา นุเบกษา กองประกาศิต กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นสถานที่ติดต่อ หลังจากนั้นจึงบอกโรงพิมพ์และสถานที่ตั้ง

ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๙๑ การบอกรับราชกิจจานุเบกษามีราคาสูงขึ้น และมีกฎเกณฑ์รายละเอียดเพิ่มมากขึ้น ดังหลักฐานปรากฏในราชกิจจา นุเบกษา เล่ม ๖๕ ท้ายตอนที่ ๒ วันที่ ๖ มกราคม ๒๔๙๑ เรียกว่า "ระเบียบ การรับหนังสือราชกิจจานุเบกษา" แจ้งกำหนดออกเป็นรายสัปดาห์ ทุกวัน อังคารและในระหว่างสัปดาห์ ถ้ามีการพิเศษจะออกเป็นฉบับพิเศษ โดยมี อัตราค่าบอกรับหนังสือราชกิจจานุเบกษา ดังนี้
ค่ารับหนึ่งปี ๖๐ บาท
ค่ารับครึ่งปี ๓๐ บาท
ขายปลีกตอนละ ๒.๐๐ บาท (เฉพาะสมาชิก)
ตอนใดเกิน ๒๐๐ หน้า ตอนละ ๓.๐๐ บาท

หลักเกณฑ์การบอกรับ มี ๔ ประการ คือ
การบอกรับต้องบอกรับเต็มปี (มกราคม - ธันวาคม) หรือครึ่งปี (มกราคม - มิถุนายน หรือ กรกฎาคม - ธันวาคม) จะรับคาบปี หรือคาบครึ่งปีไม่ได้
การบอกรับหรือซื้อปลีกต้องชำระเงินล่วงหน้า ผู้อยู่ต่างจังหวัด จะส่งเงินทางธนาณัติหรือเช็คไปรษณีย์ได้ โดยสั่งจ่าย ณ ที่ทำการ ไปรษณีย์หน้าพระลาน
การติดต่อให้ติดต่อที่แผนกราชกิจจานุเบกษา ณ ศาลาลูกขุน พระบรมมหาราชวัง การชำระเงินให้ชำระที่กองคลัง กรมเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี ณ วังปารุสกวัน ถนนราชดำเนินนอก
หนังสือราชกิจจานุเบกษาตอนใด ถ้าไม่ได้รับให้แจ้งขอภายใน กำหนด ๒ เดือน เกินกำหนดจะไม่รับพิจารณา

ลงท้ายว่า กองประกาศิต กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี คงจะเป็น ผู้วางระเบียบการรับหนังสือนี้

ส่วนท้ายสุดของระเบียบ จะมีข้อความว่า หนังสือราชกิจจา นุเบกษาเป็นของกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

แผนกราชกิจจานุเบกษา กองประกาศิต เป็นเจ้าหน้าที่ และ บอกโรงพิมพ์และที่ตั้งไว้เช่นเดียวกับระเบียบการ ปี ๒๔๘๙

ราชกิจจานุเบกษาในรัชกาลปัจจุบัน ยังคงอยู่ในรูปแบบเดิม เช่นรัชกาลก่อนๆ ในด้านเนื้อหาไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก นอกจาก ขนาดและรูปเล่มและกำหนดออก จึงได้ยกตัวอย่างเพียงบางช่วงเท่านั้น มาแสดงไว้ ณ ที่นี้

ราชกิจจานุเบกษา

เรื่องที่ลงในราชกิจจานุเบกษา

เรื่องที่ลงในราชกิจจานุเบกษาช่วงปี ๒๔๘๙ - ปัจจุบัน เป็นเรื่อง ที่มีคุณค่าทุกด้านไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา การศึกษา ฯลฯ ถ้าศึกษาข้อมูลแต่ละด้านในราชกิจจา นุเบกษาจะทำให้เราทราบถึงประวัติพัฒนาการ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นในด้านนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น

ด้านเศรษฐกิจ

เงินตราของไทย เหรียญและธนบัตรเป็นสิ่งแลกเปลี่ยนซื้อเครื่อง อุปโภคบริโภคต่างๆ เราสามารถศึกษาหาประวัติความเป็นมาในช่วงปี ๒๔๘๙ ได้จากประกาศของกระทรวงการคลัง เรื่องกำหนดลักษณะหรือจำหน่ายเหรียญ และธนบัตรชนิดราคาต่างๆ ที่ลงในราชกิจจานุเบกษา กระทรวงการคลังได้ แจ้งความและประกาศเรื่องเหรียญและธนบัตรออกมาเป็นระยะๆ ดังรายละเอียด ต่อไปนี้

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๒๑ วันที่ ๙ เมษายน ๒๔๘๙ หน้า ๔๙๓ - ๔๙๔ แจ้งความของกระทรวงการคลัง "เรื่องจำหน่ายธนบัตร ชนิดราคา ๕๐ สตางค์แบบใหม่" โดยจะบอกลักษณะของธนบัตรด้านหน้า ด้านหลัง สี และ ขนาด

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๒๖ ลงวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๔๘๙ หน้า ๖๔๑ - ๖๔๔ ประกาศกระทรวงการคล้ง "เรื่องเหรียญกระษาปณ์ ดีบุก" ชนิดราคาต่างๆ ๔ ชนิด ได้แก่

๑. เหรียญกษาปณ์ดีบุกชนิดราคาห้าสิบสตางค์ หนักอันละ ๕ กรัม
๒. เหรียญกษาปณ์ดีบุกชนิดราคายี่สิบสตางค์ หนักอันละ ๒.๕ กรัม
๓. เหรียญกษาปณ์ดีบุกชนิดราคาสิบสตางค์ หนักอันละ ๑.๗๕ กรัม
๔. เหรียญกษาปณ์ดีบุกชนิดราคาห้าสตางค์ หนักอันละ ๑.๒๕ กรัม

และบอกรายละเอียดเกี่ยวกับเส้นผ่าศูนย์กลาง ลักษณะลวดลายด้านหน้า ด้านหลัง และวันที่เริ่มใช้

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๔๐ วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๔๘๙ หน้า ๗๗๖ - ๗๗๗ แจ้งความของกระทรวงการคลัง "เรื่องจำหน่ายธนบัตร ชนิดราคา ๑ บาท แบบใหม่" บอกลักษณะด้านหน้า ด้านหลัง สี และขนาด

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๘๙ หน้า ๑๗๘๖ - ๑๗๘๗ ประกาศ "เรื่องกำหนดลักษณะธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐ บาท แบบ ๘" ที่จะจำหน่ายออกใช้ โดยบอกรูปลักษณะ ด้านหน้า ด้านหลัง สี และขนาด

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๗๖ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๘๙ หน้า ๑๘๓๙ - ๑๘๔๒ ประกาศของกระทรวงการคลัง "เรื่องกำหนดลักษณะ ธนบัตรชนิดราคา ๕ บาท แบบ ๘" และ "เรื่องกำหนดลักษณะธนบัตรชนิด ราคา ๑ บาท แบบ ๘" ที่จะจำหน่ายออกใช้ โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับ ลักษณะด้านหน้า ด้านหลัง สี และขนาดของธนบัตรทั้งสองราคา

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๗๗ วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๔๘๙ หน้า ๑๘๘๘-๑๘๘๙ ประกาศ "เรื่องกำหนดรูปพรรณธนบัตรชนิดราคา ๑๐ บาท แบบ ๘" ที่จะจำหน่ายออกใช้โดยบอกถึงรูปลักษณะ เช่นเดียวกัน

ตอนท้ายเรื่องจำหน่ายธนบัตรและเหรียญชนิดราคาต่างๆ จะมี ข้อความกำกับไว้ว่า "ธนบัตรชนิดราคานั้นๆ แบบเก่า ยังคงเป็นเงินที่ชำระหนี้ ได้ตามกฎหมายตามเดิม"

นอกจากนี้ยังมีประกาศยกเลิกธนบัตรที่ออกใช้บางชนิด ดังประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๗๖ วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๘๙ หน้า ๑๘๔๓

๑๘๔๔ ประกาศ "เรื่องยกเลิกธนบัตรที่ออกใช้บางชนิด" สาเหตุจากมีการปลอมแปลงมาก จึงให้ยกเลิกธนบัตรชนิดและราคายี่สิบบาท ทุกแบบที่ได้ออกใช้ก่อนวันประกาศนี้

และธนบัตรชนิดและราคาห้าสิบบาททุกแบบที่ได้ออกใช้ก่อน วันประกาศนี้

และต่อท้ายด้วยแถลงการณ์กระทรวงการคลัง "เรื่องยกเลิก ธนบัตรชนิดราคา ยี่สิบบาท และห้าสิบบาท" ในหน้า ๑๘๔๔ - ๑๘๔๗

จากประกาศและแจ้งความของกระทรวงการคลังในปี ๒๔๘๙ ดังกล่าวทำให้เราได้ทราบถึงประวัติ พัฒนาการ ราคา รูปลักษณะของ เหรียญและธนบัตร ที่ผลิตและจำหน่ายออกใช้ในช่วงนั้น รวมทั้งการยกเลิก ธนบัตรบางชนิดและสาเหตุในการยกเลิกดังนี้ เป็นต้น

ด้านศาสนา

ราชกิจจานุเบกษาปี พ.ศ. ๒๕๑๖ มีประกาศของกระทรวงศึกษา ธิการเรื่องตั้งวัดในพระพุทธศาสนาตามจังหวัดต่างๆ เป็นจำนวนมาก แสดง ให้เห็นว่าประชาชนในสมัยนั้นนิยมการสร้างวัด ดังตัวอย่าง

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๔๒ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๑๖ หน้า ๓๗๖๘ ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ "เรื่องตั้งวัดใน พระพุทธศาสนา" มีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อผู้ที่ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด สถานที่ก่อสร้างและการก่อสร้างวัดแล้วเสร็จ กำหนดชื่อวัด และวันเดือนปี ที่ประกาศ

นอกจากการสร้างวัดแล้ว ยังมีประกาศย้ายวัด และยกฐานะวัดเป็น พระอารามหลวงด้วย

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๔๒ หน้า ๓๗๖๗ ประกาศ ของกระทรวงศึกษาธิการ "เรื่องย้ายวัดจริง" บอกสถานที่ตั้ง สาเหตุการย้าย สถานที่ตั้งใหม่ กำหนดชื่อวัดพร้อมวันเดือนปีที่ประกาศ

ราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๒ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๖ หน้า ๘ แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ "เรื่องยกวัดราษฎร์ เป็นพระอารามหลวง" คือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ โดยพระบรมราชานุญาต ให้ยกวัดชื่ออะไร สถานที่ตั้ง เป็นพระอารามหลวง ชั้นใด ชนิดใด เพื่ออะไร ตั้งแต่เมื่อไร ตอนท้ายบอกวันเดือนปีที่แจ้งความ

จากข้อมูลในราชกิจจานุเบกษา ทำให้ทราบว่าวัดที่เกิดขึ้นใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ มีจำนวนเท่าใด วัดอะไรบ้าง อยู่ที่ไหน และยังทราบถึง การสร้างวัดจะต้องขออนุญาตกระทรวงศึกษาธิการก่อน เมื่อสร้างแล้วเสร็จ จะต้องแจ้งให้ทราบเพื่อกระทรวงศึกษาธิการจะประกาศตั้งวัดพร้อมกำหนด ชื่อวัดให้ นอกจากนี้ยังได้ทราบว่ามีการย้ายวัดใดบ้าง และมีการยกฐานะวัด ราษฎร์วัดใดเป็นพระอารามหลวงบ้าง

ด้านประวัติศาสตร์

ราชกิจจานุเบกษาแจ้งข้อมูลเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด เช่น ข่าวในพระราชสำนัก การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ประกาศแจ้งความ เรื่องของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ

ตัวอย่าง ประกาศที่ลงในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่มที่ ๖๓ ตอนที่ ๓๙ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ หน้า ๔ - ๕ การเสด็จสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ ๘ และการอัญเชิญสมเด็จพระเจ้า น้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙

ด้านการเมืองการปกครอง

ข้อมูลเกี่ยวกับการประชุมร่างรัฐธรรมนูญ การประชุมผู้แทนวุฒิสภา และรัฐสภา ทำให้ทราบถึงความเป็นไปทางการเมืองการปกครองได้อย่างดี ดังบันทึกการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ลงในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๙๐ ตอนที่ ๑๑๗ วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๑๖ หน้า ๑๒

ด้านภูมิศาสตร์

มีการแบ่งเขต และกำหนดเขตที่ดินในจังหวัด อำเภอต่างๆ การ รวมจังหวัด การแยกจังหวัด และการเลื่อนระดับของตำบล อำเภอ ทำให้ทราบ ถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิศาสตร์ เช่น พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลง เขตจังหวัดราชบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. ๒๔๘๙ ที่ลงในราชกิจจา นุเบกษา เล่มที่ ๖๓ ตอนที่ ๗๑ วันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๘๙ หน้า ๕๕๖

ด้านกฎหมาย

เป็นที่รวมของกฎหมาย กฎกระทรวงทบวงกรมต่างๆ ซึ่งแยกเป็น ภาคกฤษฎีกาโดยเฉพาะ เราสามารถศึกษาข้อมูลประวัติพัฒนาการด้าน กฎหมายได้อย่างละเอียด เช่น กฎ ก.พ. ฉบับที่ ๗๐๓ (พ.ศ. ๒๕๑๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๙๗ ที่ลงในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่มที่ ๙๐ ตอนที่ ๖ วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๑๖ หน้า ๔ ว่าด้วยการเทียบตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักพระราชวัง

ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม

ข่าวและเรื่องราวที่ลงในราชกิจจานุเบกษา ทำให้เราทราบถึง ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ โดยเฉพาะข่าวในพระราชสำนักจะให้ข้อมูล เป็นอย่างมาก เช่น แถลงการณ์รัฐบาลที่ลงในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๖๓ ตอนที่ ๓๙ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ หน้า ๓ เรื่องสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวรัชกาลที่ ๘ เสด็จสวรรคต สมควรที่ข้าราชการและประชาชนไว้ทุกข์ มีกำหนด ๑ ปี และให้ลดธงครึ่งเสาตามระเบียบ

ประกาศของสำนักพระราชวังเรื่องลาออกจากฐานันดรศักดิ์ ที่ลง ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๖๓ ตอนที่ ๕๓ วันที่ ๖ สิงหาคม ๒๔๘๙ หน้า ๑๐๘๕ จะเห็นว่าสตรีที่มีฐานันดรศักดิ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป เมื่อจะ ทำการสมรสกับสามัญชนจะต้องกราบถวายบังคมลาออกจากฐานันดรศักดิ์ แห่งพระราชวงศ์

ราชกิจจานุเบกษา

ความสรุป

เนื่องจากราชกิจจานุเบกษาเป็นหนังสือสำคัญของทางราชการ เป็นหนังสือลงประกาศใช้กฎหมายและข่าวสำคัญต่างๆ ของชาติบ้านเมือง จึงมีประโยชน์และคุณค่าสูงยิ่งในการศึกษาค้นคว้า โดยเฉพาะฉบับย้อนหลัง เป็นข้อมูลที่ถูกต้องและอ้างอิงได้ในทางนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ภาษา วรรณคดี ขนบธรรมเนียมประเพณี และประวัติบุคคล ฯลฯ ในการศึกษาค้นคว้านั้น หาก อ่านดูเพียงฉบับเดียวก็คงจะได้เฉพาะเรื่องหรือกฎหมายที่เราต้องการค้นคว้า แต่ถ้านำมาวิเคราะห์เป็นยุคสมัย ก็จะได้ประวัติศาสตร์ของชาติทุกแง่ทุกมุม กล่าวได้ว่า เมื่อเปรียบเทียบกับตำนานจดหมายเหตุและพงศาวดารของ ประเทศไทยในสมัยก่อนแล้ว ราชกิจจานุเบกษาก็จัดอยู่ในหนังสือประเภท เดียวกัน แต่ให้ข้อมูลที่ละเอียดและมีความถูกต้องแม่นยำมากกว่า

ชื่อเรื่องและลิงค์ถูกคัดลอกแล้ว